คู่มือเกี่ยวกับการลงวิชาเรียนในสหรัฐ (ขุดมาจาก พี่บอส#45)
นอกจากนี้หากรุ่นพี่รีเทิร์นนีผ่านเข้ามา มีอะไรจะเพิ่มเติมหรือเสนอแนะก็ยินดีครับ ข้อความทั้งหมดสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และให้เครดิตกับผู้เขียนครับ
ช่วงนี้น้องๆ รุ่น 47 ที่กำลังจะเดินทางในอีก 2 เดือนข้างหน้านี้ก็คงจะตื่นเต้นกันตามสมควรนะครับ พี่ก็จะ
ขอแนะนำเรื่องที่ค่อนข้างจะสำคัญเมื่อไปถึงที่สหรัฐอเมริกานั่นก็คือการลงวิชาเรียนครับ เนื่องจากในค่าย
มีเวลาค่อนข้างจำกัดบวกกับมีเรื่องอื่นที่ค่อนข้างสำคัญกว่าต้องพูดถึง พี่ก็เลยเก็บเรื่องนี้ไว้ทีหลัง และ
นำมาโพสต์ไว้ที่นี้ให้น้องๆอ่านกัน ยังไงก็ฝากบอกต่อๆ กับเพื่อนที่ไม่เล่นบอร์ดด้วยนะ พี่แนะนำให้อ่าน
อีกครั้งก่อนวันที่น้องจะไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยนะครับ เรื่องที่อ่านมันยาวหน่อยๆนะ ทนอ่านนิดนึง ^^
ทำอย่างไรจึงจะได้ดิโพลม่า ดิโพลม่า (Diploma) หรือใบรับรองว่าจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายของสหรัฐฯ หลายคนอยากจะได้
มันก็เพราะว่าสามารถนำมาเทียบกับกระทรวงศึกษาธิการของเรา ว่าน้องจบมัธยมปลาย หลายคนก็ไปเข้า
ศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน แต่น้องจะเข้าระบบแอดมิชชั่นกลางไม่ได้หรอก
นะครับ เพราะว่าเราไม่มีเกรดอะไรพวกนี้เหมือนชาวบ้านเขา
ทางเอเอฟเอสก็จะบอกเราในวันที่ปฐมนิเทศก่อนไปว่าโปรแกรมไม่การันตีว่าน้องทุกคนจะต้องได้
ดิโพลม่ากลับมา เพราะมันเป็นเงื่อนไขที่แต่ละโรงเรียน แต่ละรัฐกำหนดขึ้นมา ไม่จำเป็นว่าเพื่อนน้อง
ได้ แล้วน้องจะต้องได้เหมือนกันนะครับ
ถ้าอย่างนั้นเรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าเงื่อนไขใดบ้างถึงจะทำให้เราได้ดิโพลม่า น้องอาจจะเริ่มด้วยการ
ป่าวประกาศให้อาจารย์ที่ปรึกษาเรารู้ไปเลยว่าฉันต้องการดิโพลม่าก็ได้ ไม่ผิดกฎ กติกา มารยาทใดๆ
อาจารย์ของน้องก็จะเริ่มพิจารณาความเป็นไปได้จากปัจจัยพวกนี้...
อย่างแรกเลยคือน้องต้องไปอยู่ในชั้นซีเนียร์ หรือเกรด 12 เท่านั้นครับ เกรดอื่นไม่เกิด อันนี้น้องที่ไป
ตอน ม.6 ไม่ต้องห่วงครับ ส่วนใหญ่เขาไม่ลดเกรดน้องหรอก ถ้าไม่มีปัญหาอื่นจริงๆ แต่น้องที่ส่วนมากไป
ตอน ม.4 ม.5 กันนี่สิ อยู่ที่ดวงเหมือนกันนะครับ น้องอาจจะลองขอเขาได้ แต่ถ้าเขาไม่ให้ก็คือไม่ให้
นะครับ อย่าไปต่อรอง มันดูไม่น่ารักครับ
ต่อมาก็ขึ้นอยู่ที่กฎที่บอร์ดของแต่ละรัฐกำหนดขึ้นมาครับ เช่นในรัฐอย่าง New York หรือ Ohio จะต้อง
มีการสอบความรู้ให้ถึงเกณฑ์ก่อนจึงจะมีสิทธิ์จบได้ครับ พวกนี้จะสอบปีละหลายๆครั้งครับ เพราะเขาก็
อยากให้จบกันทุกๆคนแหละ ...และในหลายๆรัฐ เช่น Minnesota ก็ให้ดิพกับนักเรียนแลกเปลี่ยนโดย
ไม่ต้องทำอะไรเลยก็มี กฎหมายรัฐต่างๆ มีอีกยิบย่อยนะครับ เพราะ 1 มลรัฐก็เหมือนหนึ่งประเทศครับ
เขาเลยตั้งกฎหมายเองได้ เช่นที่ New Jersey ห้ามลูกค้าเติมน้ำมันเอง, South Dakota ห้ามทำแท้ง,
New Hampshire ภาษี 0% เป็นต้น เพราะฉะนั้นขอให้น้องๆ เข้าใจในเรื่องกฎหมายของแต่ละรัฐที่ว่านี้
ด้วยนะครับ
ปัจจัยสุดท้ายคือปัจจัยเฉพาะของแต่ละโรงเรียนเอง ซึ่งอาจจะมาจากบอร์ดของเมือง หรือมณฑล
ก็แล้วแต่ที่ที่น้องได้ไป สิ่งที่เขาจะเรียกว่า Graduation Requirements ครับ บางที่เขาก็รีควายง่ายๆ
เช่นเพื่อนพี่คนนึงไปอยู่โรงเรียนของพวกฮิสแปนิก ทางโรงเรียนจึงบังคับให้เรียน Spanish 2 เป็น
อย่างน้อยจึงจะจบได้ แต่บางที่อย่างโรงเรียนที่พี่ไปก็ไล่มาเป็นหางว่าวแบบนี้...
ไอ้แบบนี้ยังไงก็ไม่เกิดครับ เพราะน้องจะไปหาวิชาอย่าง American History หรือ World Literature
เรียนจากไหนในโรงเรียนเมืองไทย นอกจากนี้ถึงแม้ว่าน้องจะแถสุดฤทธิ์ว่าเคยเรียน Law & Gov’t
มาในสังคม ม.4 เคยเรียนประวัติศาสตร์มาตอน ม.6 ก่อนมาที่นี่พอดี เขาก็ไม่ยอมรับอยู่ดี เพราะถ้าน้อง
เหลือบมอง Transcript ที่น้องนำมา มันมักจะเขียนเป็น Social Studies 1 2 3 4 ว่ากันไป อันนี้เขา
ไม่รับนะครับ เพราะว่าหลักฐานที่น้องนำมาไม่ได้โชว์รายละเอียดของรายวิชาที่เรียน อดได้ดิพสิงานนี้
รับประทานแห้วกระป๋องกันเลยทีเดียว
อ้าว.. แล้วทีนี้จะทำยังไงดีล่ะ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วล่ะครับ นอกจากยอมรับชะตากรรมซะว่าไม่ได้ดิโพลม่า
ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งจำเป็นเลยครับ พี่ก็ไม่ได้ดิโพลม่ากลับมาก็มีความสุขดีครับ น้องบางคนเข้าใจผิดๆ ด้วยซ้ำ
ว่าถ้าไม่มีดิพต้องเรียนซ้ำชั้น อันนี้ไม่เกี่ยวกันเลยนะครับ ลองรอการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะที่ทาง
เอเอฟเอสจะจัดดูนะครับ (หรือจัดไปแล้วก็ไม่รู้ ไม่ได้ตามข่าวอะ) สรุปพี่ก็จะขอยืนยันตามที่เอเอฟเอสพูด
ทุกประการว่าไม่มีการรับรองว่าน้องจะกลับมาด้วยดิพ และดิพก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่น้องจะอยากไปได้มัน
ขนาดน๊านน จบแล้น
สิ่งที่ต้องนำไปในวันลงทะเบียนเรียน เอาล่ะ ในที่สุดก็จะได้พูดในสิ่งที่เป็นหัวเรื่องแล้วล่ะค๊าบ พี่น้อง วันที่น้องจะได้ไปลงทะเบียนเข้าเรียนก็คือ
ประมาณ 3-4 วันก่อนวันเปิดเรียนครับ บอกโฮสต์เราให้ติดต่อนัดอาจารย์ให้ด้วยนะจ๊ะ แต่ถ้าน้องอยู่ฝั่ง
ตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่น้องจะเดินทางไปไม่ทันวันแรกที่เปิดเรียนครับ ก็ไม่เป็นไรครับ ไม่ได้พลาด
อะไรมากมาย ยกเว้นพลาดการที่โฮสพาไปเที่ยวตอนช่วงปิดเทอม แฮ่ๆ การลงทะเบียนเข้าเรียน และลง
วิชาจะทำพร้อมๆ กันในวันเดียวกันแหละครับ แถมทำในห้องๆ เดียวด้วย สะดวกกว่าโรงเรียนประเทศไทย
เยอะ น้องก็เตรียมเอกสารสำคัญต่างๆ ไปนะครับ เอาตามที่เอเอฟเอสบอกแหละ ขอไม่ลิสต์ให้ก็แล้วกันนะ
กลัวจะตกหล่น
วิชาที่จำเป็นต้องลง ขอย้ำอีกครั้งว่า ในการที่น้องที่ไปตอน ม.4, ม.5 จะข้ามชั้นเรียนได้ น้องจะต้องลง 5 วิชาหลักนะครับ
นั่นก็คือ เลข อังกฤษ วิทย์ สังคม และพละ ส่วนน้องที่ไป ม.6 หรือที่กะซ้ำชัวร์ น้องก็ไม่จำเป็นต้องลง
ตามนี้ แต่ก็แนะนำให้น้องลง 5 วิชาหลักด้วยนะครับ เพราะว่าเป็นการเสริมทักษะภาษาอังกฤษครับ
(เห็นตอน Hope & Fear เขียนกันมาเต็มเลยที่ว่าอยากพูดเก่งๆ) ภาษาอังกฤษพวกนี้เป็นประเภทที่หา
ได้เฉพาะในห้องเรียนนะครับ ศัพท์บางคำมันเป็นเฉพาะสาขาวิชา มีประโยชน์มากเวลาสอบ SAT หรือ
แม้แต่ขอสอบ ANET ภาษาอังกฤษ ไปปีนึงเอาให้คุ้มครับ ลงวิชายากๆ ท้าทายตัวเองหน่อยเร้ว~
ระบบการจัดตารางเรียน อ้อ.. ลืมบอกไปเลยล่ะ เผื่อบางคนยังไม่รู้ โรงเรียนม.ปลายที่นี่ส่วนใหญ่มี 4 ปีนะครับ คือ ม.3 ถึง ม.6
เรียกว่า Freshmen, Sophomore, Junior และ Senior ตามลำดับ ส่วนตารางเรียนโดยทั่วไปก็จะเป็น
ช่องว่างๆ ให้ลงวิชามีตั้งแต่ 6-8 ช่อง แล้วแต่โรงเรียนครับ
หลักการก็ง่ายๆครับ เลือกวิชาเรียนไปลงตาม Slot ต่างๆ น้องอาจจะเว้นช่องนึงไว้ว่างๆ เอาไว้ทำการบ้าน
ก็ได้ครับ บางโรงเรียนเขาเรียกว่า Free Period ก็ตามชื่อครับ ไปได้ทุกซอบหลืบของตึกโรงเรียน
แต่ออกไปนอกอาคารไม่ได้ เพราะประตูเป็นแบบเปิดได้ทางเดียว (...อ้อ เผื่อน้องบางคนยังไม่ทราบคือ
โรงเรียนที่นู่นตึกจะเชื่อมกันหมดครับ และประตูเปิดออกได้แต่เปิดเข้าไม่ได้ ในเวลาที่เป็นเวลาเรียน
เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนเองจากคนภายนอก จากอากาศหนาวเย็น หรือถ้าชนบทหน่อยก็กันสัตว์ป่า
นอกจากนี้กันพวกมาสาย คือให้ไปเข้าประตูเดียวที่เปิดได้จากภายนอก นั่นก็คือออฟฟิศ หรือถ้าเป็นบ้าน
เราก็ฝ่ายปกครองนั่นล่ะครับ) …น้องอาจเจอเพื่อนน้องบางคนที่ลง Free ไปถึง 2 ช่อง อันนี้เขาทำได้นะ
ครับ เพราะว่าเขาลงวิชาที่เป็นบังคับสำหรับจบไปหมดแล้ว แล้วเขาก็ออกแนวขี้เกียจเรียนอะไรมากมาย
แต่น้องไม่ควรไปทำตามนะครับ พี่อนุญาตให้น้องลง Free แค่อันเดียวพอครับ อิอิ
เอาล่ะกลับเข้าเรื่อง... บางโรงเรียนไม่มีฟรีให้น้องครับ แต่จะเป็นคาบที่ชื่อว่า Study Hall แทน ก็ยังคงฟรี
นะครับ แต่น้องไม่มีอิสระเท่ากับ Free Period นั่นคือน้องจะต้องอยู่ในห้องเรียนห้องหนึ่ง มีอาจารย์คอย
ดูแลไม่ให้น้องเอาเวลาว่างผลาญไปอย่างไร้ประโยชน์ อาจขอออกได้ในกรณีที่จะไปห้องสมุด หรือนัดกับ
อาจารย์ท่านอื่นไว้ (อาจารย์จะมีโน๊ตกระดาษแข็งไว้ให้เราแผ่นนึงให้อาจารย์ Study Hall แล้วออกมาได้)
อีกอย่างที่น้องควรสังเกตดูนะครับ นั่นก็คือเวลาในตารางครับ มันลงเศษครับ เขาจะให้ประมาณ 3 – 4
นาทีเพื่อเดินเปลี่ยนห้องครับ ถ้าน้องชำนาญเส้นทางแล้วน้องจะเปิดล๊อคเกอร์ วิ่งเข้าห้องน้ำ แถมกลับมา
จับมือซั่บๆ กับเพื่อนระหว่างทางเดินทันในเวลานี้ครับ แต่ถ้าไปแรกๆ แล้วไม่ชำนาญเส้นทางให้อั้นฉี่ไว้
เอาตัวไปให้ถึงห้องภายในเวลาก่อน แล้วค่อยขออนุญาตอาจารย์ออกมาครับ เพราะอาจารย์บางคน
เข้มงวดมากขนาดที่เลยเสียงออดไปก็ไม่ให้เข้าห้องแล้วล่ะครับ
หนึ่งในตารางเรียนสุดพิลึกตั้งแต่เคยมีมาคงหนีไม่พ้นแบบที่โรงเรียนนี้ใช้... Darien High School
โรงเรียนนี้พี่ไปมาครับ อยู่ในมลรัฐ Connecticut แอบโปรโมตนิดนึง (ใครได้ไปโรงเรียนนี้เมลมาบอก
นิดนึง) มันพิลึกยังไงลองดูครับ พรึ่บ!
คือเหตุการณ์มันเป็นแบบนี้ครับ โรงเรียนนี้ให้นักเรียนลงได้ 8 วิชา แต่ถ้าเรียน 8 วิชาทุกวันมันจะกินเวลา
มากไปครับ เขาจึงให้มีการงดเรียนวันละวิชาเรียงกันไป พร้อมกันนี้ก็อยากให้วิชาที่ 1-4 เป็นช่วงเช้าไป
ตลอด และ 5-8 เป็นช่วงบ่ายไปตลอด นอกจากนี้โรงเรียนมีโรงอาหารเล็ก จุคนทั้งหมดไม่พอ ก็เลย
แบ่งเป็น 3 Shifts ตามวิชาที่เรียน บางวิชาก็กินก่อนแล้วไปเรียน บางวิชาก็เรียนก่อนแล้วไปกิน บางวิชา
ก็เรียนนิดนึง แวะไปกิน แล้วกลับมาเรียน สนุกเหลือเกิน แต่ดีที่ฝรั่งเขาตรงต่อเวลา ถ้าเป็นคนไทยเรียน
แล้วไปกิน แล้วไม่กลับมาอีกเลยชัวร์ ตารางเรียนระบบนี้น้องอาจจะได้เจอ แต่น้อยคนมากครับเท่าที่ดูๆมา
ตารางแบบมันพอมีระบบการจำเหมือนกันนะ อยากรู้หลังไมค์มา หรือใครหาระบบเจอได้เองนี่ถือว่าเก่งนะ
ยกนิ้วให้
การแบ่งกลุ่มวิชาเรียน ก่อนที่เราจะเริ่มดูกันในส่วนนี้พี่ขอให้น้องเข้าใจก่อนว่า ที่นี่จะตั้งชื่อวิชาไม่เหมือนที่เราคุ้นเคยอย่าง เคมี
จะมีแค่ตัวเดียวเท่านั้น ไม่มี เคมี 1 2 3 4 5 เหมือนบ้านเรา ทั้งนี้เพราะเขาเรียนทุกวันไปตลอดปีการศึกษา
ไงครับ ก็จะได้เนื้อหาเหมือนที่เราเรียนสัปดาห์ละ 2 วันเป็นเวลา 3 ปีน่ะครับ
ในแต่ละโรงเรียน แต่ละเขตพื้นที่ที่น้องจะไป ก็จะมีการแบ่งวิชาเรียนเป็นกลุ่มๆ ไม่เหมือนกันนะครับ บางที
ก็แบ่งเป็นหมวดว่า วิชาเลือก วิชาบังคับ บางที่ก็ใช้เป็นรหัสต่างๆ เช่น 300, 400, 900 มาแบ่งกลุ่ม ทั้งนี้
ทั้งนั้นไม่ว่าโรงเรียนไหนจะเรียกว่ายังไง มันก็คือภาคยิบย่อยของ 3 กลุ่มต่อไปนี้ครับคือ Regular,
Honors, และ Advance Placement (หรือ AP) ครับ
Regular คือวิชาระดับมาตรฐานครับ วิชาทั่วๆไป วิชาเลือก และวิชาทั้งหมดที่เป็นวิชาบังคับใน
Graduation Requirements ที่น้องเห็นในตัวอย่างนั้นอยู่ในระดับนี้ทั้งหมดครับ
Honors คือวิชาทั่วๆไป (ในที่นี่ก็หมายถึงวิชาที่ไม่ใช่แบบ ศิลปะ ช่าง บิ๊สิเนส อะไรอย่างเงี๊ยะ) ที่สอนใน
ระดับที่เข้มข้นกว่า ทำเกรดยากกว่า พูดง่ายๆ คือเป็นวิชาชื่อเดียวกับ Regular แต่เรียนหนักกว่า
ครอบคลุมเนื้อหาลึกกว่า การบ้านมากกว่า มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วแบบนี้ใครจะเพี้ยน
มาลงวิชากลุ่มนี้ ก็คือพวกที่อยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆไงครับ เพราะว่ามหาลัยเขาอยากเห็นเราลงวิชาหินๆ
ครับ เกรด B-/C+ ในวิชาระดับนี้ ดูมีฐานะกว่าได้ A/A- ในแบบ Regular อีกนะครับ นอกจากนี้น้องยังลง
ในระดับ AP ต่อได้อีกถ้าผ่านวิชา Honors แล้ว
Advance Placement คือวิชาในระดับมหาวิทยาลัยครับ สำหรับนักเรียนที่พบว่าเรียนแค่ระดับ ม.ปลาย
ไม่ท้าทายพอ เชิญทางนี้ วิชาในกลุ่ม AP จะมีให้เลือกไม่มาก และถ้าโรงเรียนยิ่งเล็กวิชาในระดับนี้ก็จะมี
ให้เลือกน้อยลง จนอาจจะเหลือวิชาเดียว หรือไม่มี AP ให้เลือกเลยก็มีนะครับ เมื่อเรียนจบแล้วจะมีการจัด
สอบโดย College Board ไม่ใช่การสอบปลายภาคนะครับ เป็นอะไรนอกเหนือขึ้นมา ซึ่งไม่ได้บังคับว่าน้อง
จะต้องไปสอบนะครับ การสอบจะมีคะแนนให้จาก 1 ถึง 5 ถ้าได้คะแนนตั้งแต่ 3 ขึ้นไปจึงถือว่าผ่าน
ถ้าผ่านแล้วน้องก็จะสามารถเอาผลสอบไปเทียบข้ามวิชานั้นๆ ในระดับมหาวิทยาลัย เช่นผ่านการสอบ
AP Chem พอเข้าไปเรียนมหาลัยในคณะที่ต้องเรียนวิชา Chem 1 ก็ไม่ต้องเรียนแล้วไปเรียน Chem 2 ได้
เลยเป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็หมายถึงมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นนะเออ
น้องหลายคนที่มีผลการเรียนในโรงเรียนระดับไม่ห่างจาก 4.00 มากมายนัก ใฝ่ฝันจะเข้าสถาบันสีชมพู
กะไปเอา A ช้วนที่อเมริกา จะชอบลงวิชา AP เยอะๆ ระวังจะไม่ไหวเอานะครับ พี่เคยลงไป 3 ตัว ตอนหลัง
ต้องไปเอาออกตัวนึงเลยล่ะครับ คือไม่ได้โหดที่เนื้อหาเท่าไหร่นะ โหดการบ้าน อ้อแล้วก็มีวิชายอดฮิต
ของเด็กไทยคือ AP Calculus จะมีสองแบบคือ AP Calculus AB และ AP Calculus BC พูดง่ายๆ คือ BC
ยากกว่า AB นะครับ บางโรงเรียนมีสอนแค่ AB เท่านั้น เพราะนักเรียนลง BC น้อยไป หรือไม่มีอาจารย์มา
สอน BC แต่ถ้าน้องคนไหนที่คิดว่าเรียนไหว อยากให้ลง BC ดูนะ เพราะจะเจอเพื่อนระดับเทพของชั้นปีมา
รวมกันอยู่ในคลาสนี้ครับ เป็นวิชาที่ยากที่สุดในบรรดา AP ทั้งหมด ควบคู่ไปกับ AP Chem พี่จำได้แม่น
เลยว่าทั้งคลาสมีคนได้ A คนเดียว ตอนนี้มันเรียน Harvard แต่คนอื่นก็ไม่ได้ด้อยเลย อยู่ไม่ห่างไกลจาก
Ivy League
เรื่องของวิชา AP สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://apcentral.collegeboard.com/apc/public/courses/teachers_corner/index.html ...พล่ามมาซะยาวเลย อย่าเพิ่งเบื่อกันนะครับ สรุปคืออย่าไปฝืนตัวเอง ลงเท่าที่เรียนไหว เพราะน้องไม่
ได้มาเพื่อเรียนกันอย่างเดียว ยังต้องลองร่วมชมรมต่างๆ เข้าทีมกีฬา เป็นหนึ่งปีที่ยุ่งสายตัวแทบขาดเลย
ล่ะ แล้วก็อย่าลืมลง 5 วิชาหลักด้วยนะ เดี๋ยวกลับมาต้องซ้ำชั้นเสียเวลาแย่
หลายๆ โรงเรียน ถ้าน้องเข้าไปในเว็บไซต์ของโรงเรียน จะพบเอกสารที่เรียกว่า Course Catalog เป็น
ไฟล์ PDF ไว้ เป็นสิ่งที่น้องควรจะอ่านดูนะครับ ถ้าน้องได้โฮสแล้วก็เปิดดูของโรงเรียนน้อง ส่วนคนหมู่มาก
ที่ยังไม่มีโฮส เอาโรงเรียนพี่ไปดูก่อนได้ เปิดตามลิงค์นี้ครับ
http://www.darienps.org/dhs/pdfs/0810CourseCatalog.pdf รายละเอียดของแต่ละวิชาจะบอกไว้ใน
นี้ บางว่าน้องต้องลงอะไรมาก่อน คล้ายๆ อัพสกิลในเกม RPG แต่ในฐานะนักเรียนแลกเปลี่ยนอยากลง
อะไรเขาก็ให้ลงแหละครับ
ถ้าน้องได้มีเวลาอ่านมาก่อน ก็จะพอให้เรารู้ว่า วิชาที่เรียนจะไปเรียนเกี่ยวกับอะไร เพราะชื่อวิชามันฟังดูน่า
เรียนทั้งนั้นแหละครับ ต้องอ่านรายละเอียดนิดนึง นอกจากนี้บางวิชากำหนดว่าเกรดไหนบ้างถึงจะลงได้
ต้องลงวิชาไหนมาก่อน แล้วสิ่งที่อยากจะให้สนใจเป็นพิเศษคือวิชาที่จะลงเนี่ย เรียนเทอมเดียว หรือทั้งปี
วิชาที่ควรหลีกเลี่ยง
Literature ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่เราครับ แต่วิชาที่มีคำนี้ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น American
Literature, World Literature หรือสับเซตของวิชานี้เช่น Shakespeare และ Modern Poetry เป็นต้น
เป็นวิชาอ่านแหลกครับ แล้วอ่านแบบต้องตีความต่างๆ นานา หาสัญลักษณ์ และสิ่งที่แฝงอยู่ในเรื่อง
ฝรั่งยังงง เราก็ไม่เหลือครับ
วิชานี้บางที่บังคับไว้ว่าเกรด 11, 12 ต้องเรียนครับ อันนี้ก็สู้ๆเข้านะครับ หาอาจารย์บ่อยๆ หรือใช่เว็บ
SparkNotes.com ช่วยในการทำรายงานส่ง แล้วไม่ต้องบอกอาจารย์ว่ารู้จักเว็บนี้นะ
Philosophy วิชาทรมานตนเอง
AP Biology ถ้าน้องไม่ได้ชอบชีวะมากมายก็อย่าลงตัวนี้เลยครับ เพราะมันอ่านเยอะมากยังไม่พอ
ฝรั่งยังเน้นปฏิบัติคือมีแล็บมากขึ้น น้องบางคนอาจจะรู้สึกสนุกดี แต่ถ้าน้องกลัวกบแบบพี่ก็ไม่ควรลงน่ะ
วิชาที่น่าลง
หักวิชาบังคับออกไป 5 วิชา ก็มักจะมีช่องเหลืออยู่ 2-3 ช่อง อาจจะหักฟรีไปช่องนึง น้องๆ ก็น่าจะลงวิชา
พวกกลุ่ม ดนตรี ศิลปะครับ สนุกแล้วก็คลายเครียดด้วย หรือน้องอาจจะถือโอกาสเรียนภาษาใหม่เพิ่มก็
ไม่ว่ากัน
Choir ร้องเพลงประสานเสียงครับ เรียนคลาสนี้แล้วจะได้ออกโชว์ร้องในงานต่างๆ ด้วยครับ นอกจากจะ
ฝึกขับร้องแล้ว ยังได้ฝึกออกเสียงให้ถูกต้องมากขึ้นด้วยครับ
Band, Orchestra น้องที่เล่นเครื่องดนตรีเก่งในระดับหนึ่ง มาเล่นดนตรีช่วงหาเพื่อนได้ดีทีเดียวครับ ที่นี่
เข้าวงโยถือว่าลงวิชานึงนะครับ เพื่อความต่อเนื่องในการฝึกครับ
ศิลปะแขนงต่างๆ ตามแต่ที่น้องสนใจเลยครับ ฝรั่งมีให้เลือกเยอะเลยแหละ วาดภาพ ถ่ายภาพ
ปั้นเซรามิก ปั้นปูน ก็เป็นวิชาเรียนไปหมด
ภาษาที่สามที่สี่ โรงเรียนทั่วไปในสหรัฐฯที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนที่มีคนเชื้อชาติอื่น (เช่น ชาวจีน ชาวดัตช์)
มาอาศัยมากๆ ก็จะมีภาษาให้เรียนอยู่หลักๆ 4 ภาษาคือ ฝรั่งเศส สเปน ละติน และไทย ...เอ่อ อันหลัง
ไม่เกี่ยว ตกลงมีแค่ 3 เท่านั้นล่ะครับ เด็กไทยหลายคนชอบไปเรียนสเปน ซึ่งก็ถูกครับ เพราะภาษาสเปนมี
คนใช้มากเป็นอันดับต้นๆเลยครับ และคนอเมริกันหลายคนรู้ศัพท์ภาษาสเปนง่ายๆอีกด้วย แต่ภาษาละติน
ก็น่าเรียนนะ สำหรับน้องที่เอาดีทางสายวิทย์ เพราะศัพท์หลายคำที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ก็มาจากภาษา
ละตินนี้แล แถมไวยกรณ์ละตินก็ยากเข้าขั้นอยู่
...ก็มาถึงตอนจบของคู่มือเด็กดีแล้วนะครับ มีคำถามฝากไว้ใต้กระทู้ได้เลย หรือถ้าอยากคุยเพิ่มเติมส่ง
มาได้ที่
[email protected] จะแอดมาก็ได้ แต่ไม่ค่อยออนอ่ะ ขอบคุณที่อ่านนะ อึดกันจริงๆ
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=golfy&topic=9999...
ต้องขออภัยด้วยที่รูปมันไม่แสดง
เป็นไงบ้างค่ะ ขอมูลดีๆจาก พี่บอส#45 คงจะได้ความรู้กันไปเต็มอิ่ม ล่ะสิท่า แต่บทความนี้ยาวจริงๆ